วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

น้ำผลไม้ชบา : บรรจุภัณฑ์ในรูปลักษณ์ใหม่ที่มากไปด้วยสไตล์




















น้ำผลไม้ชบา รสชาติแท้จากธรรมชาติแหล่งสารอาหารนานาชนิด เหมาะสำหรับผู้ที่รักและห่วงใยสุขภาพเพราะอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ที่ได้จากเนื้อผลไม้สด ผ่านการคัดสรรจากวัตถุดิบคุณภาพดีเยี่ยม ถูกนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ด้วยกระบวนการผลิตตามหลักมาตรฐานสากล ช่วยสร้างความสดชื่นและเพิ่มคุณค่าให้กับชีวิต ด้วยรสชาติอร่อยของน้ำผลไม้แท้ที่บรรจุในกล่องพร้อมดื่ม ซึ่งออกแบบดีไซน์รูปลักษณ์ใหม่ ย่อมเป็นเครื่องการันตีให้กับผลิตภัณฑ์ นั้นๆมีศักยภาพก้าวไกลสู่สากล

สุทธิพงษ์ สุริยะ แห่ง ขาบสตูดิโอ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภาพลักษณ์และแบรนดิ้งให้กับธุรกิจอาหาร รวมทั้งเป็นกรรมการตัดสินงานประกวดบรรจุภัณฑ์อาหาร ครั้งนี้ได้รับความไว้วางใจจาก บริษัท มาลีบางกอก จำกัด ให้เป็นผู้ออกแบบและทำสไตล์สร้างภาพลักษณ์ใหม่ของน้ำผลไม้พร้อมดื่มตราชบา โดยนำเสนอประเด็น เน้นปรัชญาความเรียบง่ายคือความงดงามทีแท้จริง มาสร้างเป็นโจทย์และหาคำตอบในการออกแบบคอนเซ็ปนี้ ซึ่งธรรมชาติของการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารก็คือ ต้องทำอย่างไรที่จะให้ภาพอาหารซึ่งปรากฎอยู่บนกล่องมีหน้าตาสวยงาม โดดเด่นอย่างมีรสนิยม ไม่เน้นการปรุงแต่งหรือจัดฉาก แม้แต่การ MAKE OVER ทำให้อาหารสวยเกินจริง เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับความงามตามธรรมชาติของวัตถุดิบแทบทั้งสิ้น

ขอยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา การออกแบบงานน้ำผลไม้ชุดนี้ โจทย์ก็คือให้คงบรรจุภัณฑ์รูปแบบเดิมไว้ เปลี่ยนเพียงแค่ดีไซน์ภายนอกเท่านั้น โดยเลือกใช้แก้วทรงสูงใสรูปแบบเดียว เปลี่ยนแค่เพียงวัตถุดิบที่ใส่ลงไป เช่น แอปเปิ้ล พีช องุ่น ผักรวม ส้ม ซึ่งมีรูปทรงแตกต่างกันนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยให้ใกล้เคียงกัน และที่สำคัญการที่มีเนื้อผลไม้ชิ้นเล็กๆอยู่ในแก้วทำให้เห็นเนื้อของผลไม้ในปริมาณเยอะ ชวนให้น่าทานแถมดูน่ารัก ถือเป็นความใส่ใจอย่างพิเศษอีกด้วย ซึ่งการนำผลไม้ชิ้นเล็กๆใส่ลงในแก้วใบใส อันนี้ทำยากมากครับ เราต้องทะยอยใส่ชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ สลับกันไปมาจนเต็มแก้ว ทำให้ดูเหมือนราวเป็นงานศิลปะและต้องอดทนทำอย่างใจเย็นเป็นอย่างมาก ทำทีละขั้น ทีละน้อยและต้องคอยเช็คดูว่าสวย เป็นธรรมชาติแล้วหรือยัง จินตนาการภาพออกมาให้ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ ที่สั่งสมมาของฟู้ดสไตลิสต์แต่ละท่าน สุดท้ายเพื่อให้ได้งานที่ออกมาคงความสวยงามของวัตถุดิบอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ซึ่งถือเป็นหัวใจของการสร้างสรรค์งาน

งานที่ทำจะไม่ถ่ายวัตถุดิบทีละชิ้น ทีละด้าน ทีละลูก แล้วใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์เข้าช่วยนำมาประกอบกันเพื่อจัดวาง หรือจัดแต่งซึ่งเรียกว่าการจัดฉากนั่นเอง ซึ่งแนวคิดดังกล่าวทำให้ความงามตามธรรมชาติของวัตถุดิบชนิดนั้นๆถูกทำลาย ทำให้บรรจุภัณฑ์อาหารถูกลดทอนคุณค่าความงามตามลงไปด้วยเช่นกัน นี่คือปัญหาหลักในการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารที่เกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะต่างก็ไม่เข้าใจ มองไม่เห็นและเข้าไม่ถึงความงามตามธรรมชาติของ วัตถุดิบอาหารว่าจะนำเสนออย่างไรให้เกิความโดดเด่นตามหลักสากลของ ฟู้ดสไตลิสต์

ซึ่งแนวคิดการออกแบบของน้ำผลไม้ชบาได้นำเสนอตรงประเด็นและตอบโจทย์ได้อย่างชัดเจน มีความสำคัญและบทบาทที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ บรรจุภัณฑ์อาหารของไทยโดยรวมให้มากไปด้วยสไตล์และรสนิยม เป็นการยกระดับเทียบเท่ามาตรฐานสากลนำมาซึ่งการยอมรับและชื่อ เสียงต่อประเทศชาตินั่นเอง

ติดตามอ่านบทความเบื้องหลังความงามของบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ตอน ที่ 2 ในครั้งหน้าครับ และสำหรับท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ที่มากไปด้วยคุณค่า น้ำผลไม้กล่องพร้อมดื่มดีไซน์ใหม่ มีวางจำหน่ายแล้วตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป หรือเข้าไปที่เวปไซด์ www.chabaamalee.com


ขอแสดงความนับถือ

สุทธิพงษ์ สุริยะ

www.karbstyle.com

บริการและงานให้คำปรึกษา ขาบสตูดิโอ

1. ฟู้ดสไตลิสต์

2. ถ่ายและกำกับภาพอาหาร

3. รับออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อาหารทุกชนิด

4. คุกกิ้งโชว์และเวิร์คช็อป

5. งานออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร

6. สตูดิโออาหารให้เช่า

7. คอร์สฝึกอบรมฟู้ดสไตลิสต์

8. พัฒนาสูตรอาหารโดยเชฟจากสถาบันอาหารชั้นนำ

9. รับสอนทำอาหารโดยเชฟจากสถาบันอาหารชั้นนำ

10. งานที่ปรึกษาด้านสไตล์ให้ธุรกิจอาหารทุกรูปแบบ

11. ออกแบบหน้าตาอาหารเชิงพาณิชย์ศิลป์สำหรับธุรกิจอาหาร

12. คิดวางธีมคอนเซ็ปออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อาหารด้วยมาตรฐานสากล


Services and Consultancy by Karb Studio

1. Food styling

2. Food photographing and directing

3. Food publication design

4. Cooking workshop and show

5. Food packaging design

6. Food studio rental

7. Food stylist training

8. Food recipe development by chefs from leading food institutions

9. Cooking classes by chefs from leading food institutions

10. Food business styling

11. Commercial food styling for food business

12. Food publication conceptualization using international standards


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น