วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ฟู๊ดสไตลิสต์ Karb Studioบริการสร้างภาพลักษณ์ธุรกิจอาหาร

ที่ความก้าวหน้าเป็นไปด้วยความลำบาก ก็เพราะมันมุ่งไปข้างหน้าไม่ยอมถอยหลัง
ออสการ์ ไวลด์


การแข่งขันของธุรกิจอาหารเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการต่างต้องดิ้นรน ค้นหากลยุทธ์การต่อสู้เพื่อความอยู่รอดสร้างความต่างของสินค้าและบริการในตลาด แต่สุดท้าย หลายคนต้องกลับมาใช้กลยุทธ์เดิมๆในการแข่งขัน เช่น การลดราคา การพัฒนาสินค้าให้มีความอร่อยถูกปากโดยนายสุทธิพงษ์ สุริยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด เจ้าของธุรกิจให้บริการด้านการแบรนด์ดิ้ง สร้างภาพลักษณ์ให้กับอาหารกล่าวกับ ฐานเศรษฐกิจ ว่า ช่วง 10 ปีที่ตนเองอยู่ในฐานะ ฟู้ดสไตล์ลิทส์ ทำให้มองเห็นจุดอ่อนของอาหารไทยในตลาดโลกที่สำคัญ นั่นคือ ภาพลักษณ์งดงาม ตนเองจึงได้เริ่มต้นทำธุรกิจด้วยการเปิดตัว Karb Studio ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างภาพลักษณ์ใส่ สไตล์ เพื่อการการจดจำให้กับผู้บริโภค++

ธุรกิจสร้างภาพลักษณ์นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อว่า จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจสร้างภาพลักษณ์ให้กับอาหาร เริ่มต้นจากอาชีพฟู้ดสไตลิสท์ (Food Stylist) ซึ่งในช่วงเวลาการทำงานที่ผ่านมา พบว่า อาหารไทยเป็นอาหารทีมีรสชาติความอร่อยมากเป็นอันดับแรกของโลก เนื่องจากประเทศไทยมีวัตถุดิบการทำอาหารมากมาย แต่ปัญหาที่ทำให้อาหารไทยไม่ได้รับความนิยมเมื่อแรกเห็น ก็เนื่องจาก อารมณ์ประทับใจ ซึ่งการจะสร้างอาหารให้เป็นที่เย้ายวนชวนลิ้มลอง ต้องมีการใส่สไตล์ หรือรูปลักษณ์การออกแบบที่สวยงามลงไปเมื่อเรามองว่าสินค้าอาหารไทยในตลาด ที่ขาดสไตล์ขาดความเย้ายวน อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ถ้าเราทำให้ผู้ประกอบการด้านอาหารเห็นความสำคัญของภาพลักษณ์ เราก็จะได้ลูกค้า โดยเป็นที่ปรึกษาและถือเป็นการแบรนด์ดิ้งอาหารไปในตัวกลุ่มประเทศ อย่างยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น ธุรกิจประเภทนี้ถือว่าได้รับการยอมรับ และมีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ประกอบการใช้บริการจำนวนมาก เช่น ดอนน่า เฮย์ หรือมาร์ธา สจ๊วต ที่ต่อยอดธุรกิจสู่แมกกาซีนอาหารและที่ปรึกษางานของบริษัทผู้ผลิตอาหาร++

รูปแบบการให้บริการรูปแบบการให้บริการแบ่งออกมีหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่กระบวนการ เป็นที่ปรึกษางานด้านธุรกิจอาหารเกี่ยวกับภาพลักษณ์ ,การออกแบบแพ็คเกจจิ้ง,ให้บริการถ่ายภาพอาหาร,รวมไปถึงวิธีการคิดเพื่อนำเสนอแนวคิดในงานโฆษณาประชาสัมพันธ์อาหารปัจจุบัน บริษัทของเรามีลูกค้าเป็นกลุ่มเอเยนซี่และผู้ผลิตโฆษณา คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50 ของรายได้ สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ วิธีการนำเสนออาหารที่ลึกกว่า เพราะ งานโฆษณาไม่ใช่แค่การถ่ายรูปผลิตภัณฑ์แล้วนำติดบนป้าย หรือบนแพ็คเกจจิ้งการนำเสนออาหารให้มีความน่าสนใจบนป้าย หรือบนแพคเก็จจิ้ง ต้องมีแนวคิดในรูปแบบเดียวกัน เช่น การใช้มุมกล้องในการถ่ายภาพให้เหมือนกัน การคัดเลือกสีสันก่อนมีการถ่ายภาพ เพื่อให้มีความสัมพันธ์กับตราสินค้าของผู้ผลิต งานสร้างภาพลักษณ์ให้กลุ่มผู้ผลิตขนาดใหญ่คิดเป็นอัตราร้อยละ 40 ของจำนวนผู้ใช้บริการ ส่วนที่เหลือเป็นผู้ผลิตที่มีขนาดเล็ก อย่างกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเอสเอ็มอีและกลุ่มโอทอป ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการหลุดจากคราบความเป็น โอทอป ต้องการภาพลักษณ์ใหม่ที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในต่างประเทศ++

ทิศทางของธุรกิจสร้างภาพลักษณ์สำหรับทิศทางการเติบโตของธุรกิจสร้างภาพลักษณ์ในอนาคต นายสุทธิพงษ์ เชื่อว่าธุรกิจการสร้างภาพลักษณ์จะสามารถเติบโตขึ้นในอนาคต เพราะ การแข่งขันในตลาดอาหารมีความเข้มข้นมากขึ้นเป็นลำดับ กลุ่มธุรกิจที่มีหน้าที่ในการสร้างภาพลักษณ์จะมีความสำคัญ ในการผลักดันให้ธุรกิจอาหารเติบโตโดยปัจจุบัน ตลาดมีกลุ่มธุรกิจสร้างภาพลักษณ์อยู่เพียง 2 บริษัท มีเงินเหมุนเวียนในธุรกิจเพียง 3 ล้านบาท แต่เชื่อว่า ภายในระยะเวลาอีก 2 ปี จะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจนี้มากกว่า 5 ล้านบาท ส่วนกลุ่มคนที่มีอาชีพ ฟู้ดสไตลิสท์ รวมถึงกลุ่มคนทำงานด้านโฆษณาก็จะหันมาทำธุรกิจสร้างภาพลักษณ์มากขึ้นส่วนป้าหมายในอนาคต บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านภาพลักษณ์ให้กับอุตสาหกรรมอาหารทั้งบริษัทขนาดเล็กและใหญ่ โดยมีการเปิดพื้นที่ในชั้นสองของ Karb Studio เป็นสถานที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์ นอกจากนั้น ยังจะเริ่มเป็นผู้ร่วมผลิตรายการทีวีด้านการทำอาหารในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งช่วงระยะแรกการทำธุรกิจของ Karb Studio จะไม่เน้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่จะค่อยๆสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่จดจำแก่กลุ่มผู้ผลิตอาหารก่อน
โอกาส
1.มีคู่แข่งจำนวนน้อยในตลาด
2.มีกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก

ในตลาดความเสี่ยง
1.ต้องใช้เวลาในการทำตลาดเป็นเวลานาน
2.อาจมีกลุ่มคู่แข่งที่มีเงินทุนมากกว่าเป็นคู่แข่งขันหน้านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น